Subscribe:

Ads 468x60px

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

เห็ดนางฟ้าน่ารู้


เห็ดนางฟ้า




การเพาะเห็ดนางฟ้า


ห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน    ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer

          เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี

          อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก


วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า


การเพาะเห็ดภูฐาน
 วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
>วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาหารเสริม
>แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
>ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 3/4 x 12 1/2 หรือ 8x12 นิ้ว
>คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว
>สำลี ยางรัด
>ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
>โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย
การเตรียมวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา
     ส่วนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หรือใช้ฟางข้าวก็ได้  ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุจึงนิยมใช้ขี้ เลื่อยไม้ยางพารา  ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก
 อัตราส่วนในการผสมวัสดุอื่นๆ
 ขี้เลื่อย          100    กิโลกรัม
รำละเอียด      6       กิโลกรัม
ปูนขาว          1       กิโลกรัม
ดีเกลือ           0.2    กิโลกรัม
ยิปซัม           0.2    กิโลกรัม
น้ำสะอาด       60-70 %
สูตรที่  2
 ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง   100   กิโลกรัม
รำละเอียด                   5      กิโลกรัม
ยิปซัม                        0.2   กิโลกรัม
ปูนขาว                       1      กิโลกรัม
ดีเกลือ                        0.2   กิโลกรัม
ปรับความชื้นของวัสดุเพาะประมาณ  60-65 %
          วัสดุทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมได้เมื่อชั่งหรือตวงวัสดุ ทั้งหมดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน และหมั่นตรวจดูความชื้นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้วัสดุเปียกแฉะจนเกินไป  ซึ่งจะทำให้มีผลในการทำให้เชื้อเห็ดไม่เดิน
 วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ
     นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น  ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมแล้วปรับความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้งเพิ่ม) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วน ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำเล็กน้อย
>บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อน  น้ำหนัก 8-10 ขีด
>กระแทกกับพื้นพอประมาณ และทุบให้แน่นพอประมาณ 2 ใน 3 ของถุง หรือใช้เครื่องอัดก้อนเห็ด ใส่คอขวด ปิดฝาด้วยฝาจุกแบบประหยัด
>นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศาเซลเซียส  3 ชั่วโมง  แล้วนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
>การใส่หัวเชื้อ
ลักษณะเชื้อเห็ดที่ดี
      จะต้องไม่มีเชื้อราอื่นๆ เจือปน เช่น ราดำ ราเขียว ราส้ม ปนเปื้อน อยู่ในขวดเชื้อนั้น เพราะจะทำให้ถุงเพาะเชื้อเห็ดติดโรคราอื่นได้  โดยสังเกตเส้นใยของเชื้อเห็ดจะต้องมีเส้นใย สีขาวบริสุทธิ์และดินเต็มขวด
 หัวเชื้อควรเลือกหัวเชื้อที่เจริญเต็มเมล็ดธัญพืชใหม่ๆเพราะเชื้อในระยะนี้กำลังแข็งแรงและเจริญเติบโตรวดเร็ว
สถานที่เขี่ยเชื้อเห็ด  ควรเขี่ยในห้องที่สะอาดและสามารถป้องกันลมได้เพื่อช่วยลดเชื้อปลอมปน ทำให้เปอร์เซ็นต์ของก้อนเชื้อที่เสียต่ำลง
ในการเขี่ยเชื้อเห็ด ควรใช้ลวดแข็งๆ เผาไฟให้ร้อน ในถึงก้อนเชื้อประมาณ 15-20 เมล็ดแล้วปิดด้วยจุกสำลี เพื่อฆ่าเชื้อ  แล้วกวนตีเมล็ดข้าวฟ่างให้ร่วน เพื่อสะดวกในการเทเมล็ดข้าวฟ่างลงในถึงก้อนเชื้อ
>ใส่หัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่างลงและปิดจุกไว้ตามเดิม
>การทำให้เกิดดอกดูแลรักษาเห็ดนางฟ้า
                ก่อนการเปิดดอกควรนำก้อนเชื้อเห็ดมาวางไว้ประมาณ 3-4 วัน เห็ดนางฟ้าจะเปิดถุง  โดยเอาจุกสำลีออก นำก้อนไปเรียงซ้อนกัน  จะใช้ชั้นไม่ไผ่ตัว A หรือชั้นแขวนพลาสติกก็ได้ รดน้ำ   รักษาความชื้นให้มากในโรงเรือนให้มากกว่า 70 %  วันละ 2-6ครั้ง ขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ  โดยสเปรย์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุง  เพราะถุงจะเน่าและเสียเร็ว หลังจากบ่มเชื้อครบ
30-35  วัน  นำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเปิดดอก โดยแกะกระดาษเขี่ยข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด  ทำความสะอาดพื้นโรงเรือนรดน้ำให้ชุ่ม  วันละ  3  เวลา  คือ  เช้า  เที่ยง  เย็น เห็ดจะออกดอก  ได้ดี   ตัดแต่งตีนเห็ดก่อนนำไปจำหน่ายให้แม่ค้าในชุมชน





0 ความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น