Subscribe:

Ads 468x60px

วันศุกร์ที่ 13 มกราคม พ.ศ. 2555

โรคที่เกิดจากเชื้อรา


  โรคที่เกิดจากเชื้อรา

                1.เชื้อราดำกลุ่มแอสเพอร์จิลลัส (Aspergillus sp) ลักษณะที่พบทั่วไปของถุงเห็ด คือ บางส่วนของถุงเห็ดมีสีเขียวเข้มเกือบดำ อาจเกิดที่ส่วนบนใกล้ปากถุงแล้วลามลงไปข้างล่างหรือเกิดจากด้านล่างขึ้นไปก็ได บางส่วนของถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเกิดขึ้นติดกับบริเวณที่มีสีเขียวเข้ม
                2.เชื้อราดำโบไตรดิฟโพลเดีย (Botryodiplodia sp) จะพบว่าขี้เลื่อยในถุงเห็ดมีสีน้ำตาลเข้มเกือบดำ ซึ่งในระยะแรกเชื้อราจะมีสีขาว ต่อมาเจริญขยายกว้างขึ้นเรื่อยๆ เมื่อทิ้งไว้นาน จะเกิดก้อนเล็กๆ สีดำ ที่เป็นส่วนขยายพันธุ์ของเชื้อรานูนออกมาที่ผิวของถุงพลาสติก
                3.เชื้อรากลุ่มราเขียว (Trichoderma sp,Gliocladium sp) ลักษณะการปนเปื้อนจะสังเกตเห็นได้ง่าย เนื่องจากสปอร์ของเชื้อรามีสีเขียวอ่อนใส เมื่อเกิดรวมกันหนาแน่นจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวมะกอกหรือสีเขียวเข้มในถุงเห็ด
                4.ราเขียวเพนนิซีเลียมและเพซีโลไมซีส (Penicillium sp, Paecelomyces sp) เชื้อราทั้ง 2 ชนิดนี้มีลักษณะรูปร่างทางสัญฐานวิทยาคล้ายคลึงกันมาก มีการเจริญเติบโตที่รวดเร็วสามารถสร้างสปอร์ได้เป็นจำนวนมาก เชื้อราเพนนิซีเลียมเป็นราที่ชอบอุณหภูมิปานกลาง ลักษณะบนถุงเห็ดจะเห็นเป็นหย่อมสีเขียวตอง่อน สีเหลืองอ่อนอมเขียว หรือสีเทาอ่อนมองดูคล้ายฝุ่นเกาะสกปรก มักเกิดบริเวณด้านล่างของถุงเห็ด ส่วนเชื้อราเพซีโลไมซีสเป็นราชอบร้อน สามารถทนต่ออุณหภูมิสูงได้ มักจะเกิดกับถุงเห็ดหอม ลักษณะที่ปรากฏ คือ มองเห็นเป็นฝุ่นสีซีด เช่น สีน้ำตาล ชีดๆ ปนเหลืองอ่อน หรือสีเหลืองชีดจางๆ สังเกตเห็นเส้นแบ่งเขตการเจริญเติบโตของเชื้อเห็ดและเชื้อราได้อย่างชัดเจน
.thaigreenagro.comthaigreenagro.com

การแปรรูป


การแปรรูปเห็ดนางฟ้า
  1. การทำแหนมเห็ด
เครื่องปรุง
  1. เห็ดนางฟ้า ฉีกฝอยนึ่งสุก                                  1 กิโลกรัม
  2. เนื้อหมูสับละเอียด                                             200 กรัม
  3. กระเทียบสับ                                                     200 กรัม
  4. ข้าวสวย                                                           80 กรัม
  5. เกลือป่น                                                           18 กรัม
  6. ซีอิ้วขาว                                                           10 กรัม
วิธีทำ
  1. เลือกเห็ดที่กำลังจะบาน ล้างเห็ดให้สะอาด ตัดเอาส่วนที่เป็นโคนออก ให้เหลือแต่ดอกเก็ด แล้วฉีกเป็นฝอยชิ้นเล็ก ๆ เหมือนหนังหมูที่หั่นใส่แหนม แล้วนำเห็ดไปนึ่ง 5- 10 นาที นำมาผึ่งให้เย็นแล้วบีบคั่นน้ำออก
  2. นำเนื้อหมูสับละเอียด ลวกน้ำร้อนให้พอสุก ใส่ตะแกรงปล่อยให้สะเด็ดน้ำแล้วนำไปคลุกกับเห็ดที่ผึ่งไว้ กระเทียมสับละเอียด ข้าวสวย เกลือ ซีอิ้วขาว นำมาคลุกเคล้าให้เข้ากันในภาชนะปากกว้าง เช่น กะละมัง หรือหม้อ  โยการบีบ นวด คั้น จนเหนียว ปั้นได้ ปั้นเป็นก้อน ก้อนละ 100 กรัม (1ขีด) แล้วนำมาห่อด้วยถุงพลาสติก หรือใบตองกล้วย
วิธีบรรจุแหนมเห็ด
  1. ใช้ถุงพลาสติกใส ขนาด 4x6 นิ้ว ห่อแหนมเห็ดเข้ามุมเป็นสามเหลี่ยม ใช้ยางรัดให้แน่น จะได้แหนมเห็ดตามต้องการ
  2. ใช้ใบตองกล้วยสดห่อแบบข้าวต้มผัด ใช้ยางรัด 2-3 เปาะ เก็บไว้ในอุณหภูมิปกติ 25-30 องศาเซลเซียส ประมาณ 2 วัน แหนมจะเปรี้ยวรับทานได้
ถ้าต้องทำเป็น “แหนมเจ”ไม่ต้องใส่เนื้อหมูสับ
ที่มา  ubn4.go.th/school/banhauykhayung/22.php

การเพาะเห็ดนางฟ้า


การเพาะเห็ดนางฟ้า


   เห็ดเป็นอาหารประเภทผักที่คนนิยมนำมาปรุงเป็นอาหารมาช้านานแล้ว มีรสชาติดี คุณค่าอาหารสูง
นำมาปรุงอาหารได้หลากหลายชนิด และยังมีคุณสมบัติทางยาสามารถป้องกันและรักษาโรคได้อีกด้วย
ผู้ที่รับประทานเห็ดเป็นประจำจะทำให้กรดไขมันในเส้นเลือดไม่สูงหรือต่ำเกินไป
ที่สำคัญต่อต้านมะเร็งได้(อันนี้สำคัญ)
       การเพาะเห็ดเป็นอาชีพมีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2492 โดยอาจารย์ก่าน ชลวิจารณ์ เป็นผู้บุกเบิกเพาะเห็ดฟาง
ในประเทศไทย ซึ่งแต่เดิมไม่มีการเพาะเห็ดในลักษณะการค้า เนื่องจากมีเห็ดป่าอุดมสมบูรณ์มาก
และยังมีผู้นิยมบริโภคเห็ดน้อย ปัจจุบันการเพาะเห็ดใช้เทคโนโลยีในการเพาะสูง ทำให้ได้ผลผลิตดี
เพาะได้ง่าย ระยะเวลาสั้น ไม่จำเป็นต้องอาศัยน้ำฝนและแสงแดด ใช้วัสดุที่เหลือใช้จากการเกษตร
สามารถเพาะได้ทุกฤดูกาล เมื่อมีปริมาณมากๆ สามารถทำเป็นเห็ดตากแห้งได้
       ที่นิยมเพาะกันในปัจจุบันจะใช้ขี้เลื่อยเป็นวัสดุเพาะเป็นหลัก ดังนั้นการเพาะเห็ดจึงง่าย
ไม่ยุ่งยาก ทำได้ทุกคน ทุกสถานที่ ทุกฤดู เมื่อพร้อมแล้วเรามาฝึกกันเลยครับ


แหล่งที่มาutaiwan-farm.comutaiwan-farm.com

การสร้างโรงเรือนเห็ด


 การสร้างโรงเรือนเพาะเห็ด จะ มีขนาด 4x6 ส่วนความสูง ถ้าเป็นหลังคาจากจะสูง 3 เมตร ถ้าเป็นหลังคาสังกะสีจะสูง 2.5 เมตร วัสดุอุปกรณ์ที่ใช้ จะเน้นใช้วัสดุที่มีในท้องถิ่น เพื่อความประหยัด และใช้วัสดุในท้องถิ่นให้เกิดประโยชน์ โรงเรือนเพาะเห็ดจะมีอยู่ 2 ชนิด คือ โรงบ่มก้อนเห็ด กับ โรงเพาะเห็ด โรงเรือนที่ทำเป็นโรงบ่ม เมื่อสร้างโรงเรือนเสร็จใหม่ๆ จะใช้เพื่อเป็นโรงบ่มก้อนเห็ดก่อน เมื่อใช้บ่มก้อนไปได้สักระยะหนึ่ง จะเปลี่ยนทำเป็นโรงเพาะเห็ด โรงบ่มและโรงเพาะเห็ดที่ดีไม่ควรมีเชื้อโรค การใช้โรงบ่มก้อนเป็นโรงเพาะเห็ด อาจจะทำให้มีเชื้อโรคของก้อนเห็ดเดิมได้ เพื่อป้องกันเชื้อโรค โรงบ่มก้อนเห็ดจีงไม่ควรผ่านการทำเป็นโรงเห็ดมาก่อน ดังนั้น โรงเรือนที่เคยผ่านการใช้เป็นโรงเพาะเห็ดมาแล้ว ไม่ควรทำเป็นโรงบ่มก้อนเด็ดขาด อีกอย่างพื้นที่ที่เคยสร้างเป็นโรงเพาะเห็ด ควรจะเว้นระยะการสร้าง ควรจะพักไม่ให้มีเชื้อโรค หรือแมลงศัตรูเห็ด 
แหล่งที่มา pattaya-farm.com

เห็ดนางฟ้าน่ารู้


เห็ดนางฟ้า




การเพาะเห็ดนางฟ้า


ห็ดนางฟ้ามีรูปร่างลักษณะคล้ายคลึงกับเห็ดนางรม เห็ดทั้งสองชนิดนี้จัดอยู่ในวงศ์ (family) เดียวกัน    ชื่อ "เห็ดนางฟ้า" เป็นชื่อที่ตั้งขึ้นในเมืองไทย คนไทยบางคนเรียกว่าเห็ดแขก เนื่องจากมีผู้พบเห็นเห็ดนี้ครั้งแรกที่ประเทศอินเดีย พบขึ้นตามธรรมชาติบนตอไม้เนื้ออ่อนที่กำลังผุ ในแถบเมืองแจมมู (Jammu) บริเวณเชิงเขาหิมาลัย ชื่อวิทยาศาสตร์ คือ Pleurotus sajor-caju (Fr.) Singer

          เห็ดนางฟ้าถูกนำไปเลี้ยงในอาหารวุ้นเป็นครั้งแรกโดย Jandaik ในปี ค.ศ. 1947 ต่อมา Rangaswami และ Nadu แห่ง Agricultural University, Coimbattore ในอินเดียเป็นผู้นำเชื้อบริสุทธิ์ของเห็ดนางฟ้าเข้ามาฝากไว้ที่ American Type Culture Collection (ATCC) ในอเมริกาเมื่อปี ค.ศ. 1975 ได้ทราบว่าประมาณปี ค.ศ. 1977 ทางกองวิจัยโรคพืช กรมวิชาการเกษตร เป็นผู้นำเชื้อจาก ATCC เข้ามาประเทศไทยเพื่อทดลองเพาะดู ปรากฏว่าสามารถเจริญได้ดี

          อีกสายพันธุ์หนึ่ง เป็นเห็ดที่มีผู้นำเข้ามาจากประเทศภูฐาน มาเผยแพร่แก่นักเพาะเห็ดไทย ได้มีการเรียกชื่อเห็ดนี้ว่า เห็ดนางฟ้าภูฐาน มีหลายสายพันธุ์ซึ่งชอบอุณหภูมิที่แตกต่างกัน บางพันธุ์ออกได้ดีในฤดูร้อน บ้างพันธุ์ออกได้ดีในฤดูหนาว เป็นที่นิยมมาเพาะเป็นการค้ากันมาก


วิธีการเพาะเห็ดนางฟ้า


การเพาะเห็ดภูฐาน
 วัสดุอุปกรณ์ในการเพาะเห็ดนางฟ้า
>วัสดุเพาะ เช่น ขี้เลื่อยไม้ยางพารา อาหารเสริม
>แม่เชื้อเห็ดชนิดที่ต้องการ
>ถุงพลาสติกทนร้อนขนาด 6 3/4 x 12 1/2 หรือ 8x12 นิ้ว
>คอขวดพลาสติกเส้นผ่าศูนย์กลาง 1 1/2 นิ้ว
>สำลี ยางรัด
>ถังนึ่งไม่อัดความดัน หรือหม้อนึ่งความดัน
>โรงเรือนหรือที่บ่มเส้นใย
การเตรียมวัสดุเพาะจากขี้เลื่อยไม้ยางพารา
     ส่วนมากจะใช้ขี้เลื่อยไม้ยางพารา หรือขี้เลื่อยไม้เบญจพรรณ หรือใช้ฟางข้าวก็ได้  ตามฟาร์มเห็ดทั่วไปแล้วเพื่อความสะดวกในการหมักและผสมวัสดุจึงนิยมใช้ขี้ เลื่อยไม้ยางพารา  ซึ่งเป็นขี้เลื่อยไม้เนื้ออ่อนและมีสารอาหารที่มีคุณค่าในการเพาะเห็ดมาก
 อัตราส่วนในการผสมวัสดุอื่นๆ
 ขี้เลื่อย          100    กิโลกรัม
รำละเอียด      6       กิโลกรัม
ปูนขาว          1       กิโลกรัม
ดีเกลือ           0.2    กิโลกรัม
ยิปซัม           0.2    กิโลกรัม
น้ำสะอาด       60-70 %
สูตรที่  2
 ขี้เลื่อยไม้ยางพาราแห้ง   100   กิโลกรัม
รำละเอียด                   5      กิโลกรัม
ยิปซัม                        0.2   กิโลกรัม
ปูนขาว                       1      กิโลกรัม
ดีเกลือ                        0.2   กิโลกรัม
ปรับความชื้นของวัสดุเพาะประมาณ  60-65 %
          วัสดุทั้งหมดนี้สามารถปรับเปลี่ยนเพื่อความเหมาะสมได้เมื่อชั่งหรือตวงวัสดุ ทั้งหมดแล้วคลุกเคล้าให้เข้ากัน และหมั่นตรวจดูความชื้นบ่อยๆ เพื่อไม่ให้วัสดุเปียกแฉะจนเกินไป  ซึ่งจะทำให้มีผลในการทำให้เชื้อเห็ดไม่เดิน
 วิธีการเตรียมวัสดุเพาะ
     นำส่วนผสมดังกล่าวข้างต้น  ผสมให้เข้ากันด้วยมือหรือเครื่องผสมแล้วปรับความชื้น 60-65 % โดยเติมน้ำพอประมาณ ใช้มือกำขี้เลื่อยบีบให้แน่น ถ้ามีน้ำซึมที่ง่ามมือแสดงว่าเปียกเกินไป (ให้เติมขี้เลื่อยแห้งเพิ่ม) ถ้าไม่มีน้ำซึมให้แบมือออก ขี้เลื่อยจะรวมกันเป็นก้อนแล้วแตกออก 2-3 ส่วน ถือว่าใช้ได้แต่ถ้าแบมือแล้วขี้เลื่อยไม่รวมตัวเป็นก้อน แสดงว่าแห้งไป ให้เติมน้ำเล็กน้อย
>บรรจุขี้เลื่อยใส่ถุงพลาสติกทนร้อน  น้ำหนัก 8-10 ขีด
>กระแทกกับพื้นพอประมาณ และทุบให้แน่นพอประมาณ 2 ใน 3 ของถุง หรือใช้เครื่องอัดก้อนเห็ด ใส่คอขวด ปิดฝาด้วยฝาจุกแบบประหยัด
>นำไปนึ่งฆ่าเชื้อที่ 100 องศาเซลเซียส  3 ชั่วโมง  แล้วนำมาพักให้เย็นในที่สะอาด
>การใส่หัวเชื้อ
ลักษณะเชื้อเห็ดที่ดี
      จะต้องไม่มีเชื้อราอื่นๆ เจือปน เช่น ราดำ ราเขียว ราส้ม ปนเปื้อน อยู่ในขวดเชื้อนั้น เพราะจะทำให้ถุงเพาะเชื้อเห็ดติดโรคราอื่นได้  โดยสังเกตเส้นใยของเชื้อเห็ดจะต้องมีเส้นใย สีขาวบริสุทธิ์และดินเต็มขวด
 หัวเชื้อควรเลือกหัวเชื้อที่เจริญเต็มเมล็ดธัญพืชใหม่ๆเพราะเชื้อในระยะนี้กำลังแข็งแรงและเจริญเติบโตรวดเร็ว
สถานที่เขี่ยเชื้อเห็ด  ควรเขี่ยในห้องที่สะอาดและสามารถป้องกันลมได้เพื่อช่วยลดเชื้อปลอมปน ทำให้เปอร์เซ็นต์ของก้อนเชื้อที่เสียต่ำลง
ในการเขี่ยเชื้อเห็ด ควรใช้ลวดแข็งๆ เผาไฟให้ร้อน ในถึงก้อนเชื้อประมาณ 15-20 เมล็ดแล้วปิดด้วยจุกสำลี เพื่อฆ่าเชื้อ  แล้วกวนตีเมล็ดข้าวฟ่างให้ร่วน เพื่อสะดวกในการเทเมล็ดข้าวฟ่างลงในถึงก้อนเชื้อ
>ใส่หัวเชื้อเห็ดที่เลี้ยงบนเมล็ดข้าวฟ่างลงและปิดจุกไว้ตามเดิม
>การทำให้เกิดดอกดูแลรักษาเห็ดนางฟ้า
                ก่อนการเปิดดอกควรนำก้อนเชื้อเห็ดมาวางไว้ประมาณ 3-4 วัน เห็ดนางฟ้าจะเปิดถุง  โดยเอาจุกสำลีออก นำก้อนไปเรียงซ้อนกัน  จะใช้ชั้นไม่ไผ่ตัว A หรือชั้นแขวนพลาสติกก็ได้ รดน้ำ   รักษาความชื้นให้มากในโรงเรือนให้มากกว่า 70 %  วันละ 2-6ครั้ง ขึ้นอยู่กับ สภาพอากาศ  โดยสเปรย์น้ำเป็นฝอย ระวังอย่ารดน้ำเข้าในถุง  เพราะถุงจะเน่าและเสียเร็ว หลังจากบ่มเชื้อครบ
30-35  วัน  นำก้อนเชื้อเข้าสู่โรงเรือนเปิดดอก โดยแกะกระดาษเขี่ยข้าวฟ่างและสำลีออกให้หมด  ทำความสะอาดพื้นโรงเรือนรดน้ำให้ชุ่ม  วันละ  3  เวลา  คือ  เช้า  เที่ยง  เย็น เห็ดจะออกดอก  ได้ดี   ตัดแต่งตีนเห็ดก่อนนำไปจำหน่ายให้แม่ค้าในชุมชน